ด้วงกว่างสามเขาจันทร์

ด้วงกว่างสามเขาจันทร์ หรือ ด้วงกว่างสามเขาคอเคซัส (ชื่อวิทยาศาสตร์Chalcosoma caucasusอังกฤษ: Giant rhinoceros beetle) เป็นด้วงกว่างสามเขาสีดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวที่ใหญ่ที่สุดพบเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แมลงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มีขนาดลำตัวยาวถึง 120 มิลลิเมตร  ลักษณะเขาหน้าซึ่งเป็นเขาตั้งขึ้นที่ส่วนหัวมีฟันงอกแยกออกมาด้านในบริเวณใกล้โคนเขา ขนาดของด้วงกว่างชนิดนี้ตัวเล็กก็จะมีเขาสั้น เขาหน้าเป็นแฉกสามแฉก ส่วนตัวใหญ่ เขาหน้าเป็นปลายแหลมปลายเดี่ยวค่อนข้างยาว ปัจจุบันพบเฉพาะภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่จังหวัดจันทบุรี แถบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวและบางส่วนของน้ำตกพลิ้ว, น้ำตกตรอกนอก เท่านั้น แต่จะพบมากทางตะวันตกของประเทศมาเลเซีย และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในประเทศไทย ตัวที่มีขนาดใหญ่อาจมีลำตัวยาวถึง 130 มิลลิเมตร ซึ่งด้วงกว่างสามเขาคอเคซัสถือเป็นด้วงกว่างสามเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดในโลกด้วย

ขณะที่ตัวเมียมีขาสั้นกว่าตัวผู้ ลำตัวมีผิวหยาบเป็นรอยโดยเฉพาะส่วนหัวและสันหลังอก มีปีกที่มีผิวหยาบเป็นเม็ด แต่มีขนอ่อนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

ตัวยาวที่สุดพบที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ยาว 130 มิลลิเมตร และพบมากในทางตะวันตกของมาเลเซีย ระยะเป็นตัวหนอนจะกินระยะเวลานาน 2-3 ปี ซึ่งนับมากกว่าด้วงกว่างชนิดอื่น ๆ มักพบเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูผสมพันธุ์ คือ ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

มีชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และมีชื่อติดอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 (Appendix II) ตามประกาศของไซเตส นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วในที่เลี้ยง

utioyoijryteiy

Leave a comment